การจะประเมิณกราฟผมที่นำมาใช้ปลูกขึ้นอยู่กับอะไร (Norwood Scale)
.ในส่วนของการประเมิณราคาค่าใช้จ่ายสำหรับการปลูกผม ส่วนใหญ่จะคำนวณจากจำนวนของกราฟผมที่ใช้ในการปลูกถ่าย ซึ่งคนไข้ส่วนใหญ่ที่มีอาการผมร่วงมักเข้ามาสอบถามอยู่เสมอว่า การปลูกผมคำนวณกราฟจากอะไรได้บ้าง?.โดยหลักๆการประเมินกราฟผมที่จะนำมาใช้ในการปลูก นั้นจะประเมินจากสิ่งที่เรียกว่าว่า #NorwoodScale เป็นการจำแนกประเภทของอาการผมร่วงใน 7 ระยะ ของผู้ที่มีอาการผมร่วงตั้งแต่ระยะปกติไปจนถึงขั้นผมร่วงแบบรุนแรง โดยจำนวนกราฟผมที่นำมาใช้ในการปลูกถ่ายเพื่อฟื้นฟูให้ผมกลับมาอีกครั้ง จะต้องคำนวณและเปรียบเทียบว่าอยู่ในระยะใด ซึ่งอาการใน 7 ระยะนี้จะมีการประเมินจำนวนกราฟผมที่ต้องใช้ในการปลูกไว้แล้ว แต่การประเมินขั้นตอนสุดท้ายศัลยแพทย์จะเป็นคนประเมินและต่อยอดต่อจาก Norwood Scale ว่าจำนวนกราฟที่แท้จริงที่เหมาะสมแก่คุณเองว่าควรใช้จำนวนกราฟผมเท่าไหร่ Norwood Scale
ผมร่วงหลังคลอด
ทำไมตอนตั้งครรภ์ผมร่วงน้อยมาก บางคนผมหนาขึ้นด้วยซ้ำ แต่พอคลอดลูกได้ 3 เดือน ผมร่วง หลังคลอด อย่างรุนแรง ร่วงจนผมบางเห็นหนังศีรษะ ภาวะนี้เรียกว่า ภาวะ ผมร่วงหลังคลอด บุตรนั่นเองค่ะ คุณแม่ทั้งหลายอาจเริ่มตั้งคำถามว่า ผมร่วงหลังคลอด จะเกิดขึ้นได้นานแค่ไหน และมีวิธีรักษาอย่างไร วันนี้ หมอจะพาไปทำความรู้จักและวิธีรักษาถึงปัญหาผมร่วงหลังคลอดกันค่ะ การคลอดบุตรถือเป็นการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนครั้งยิ่งใหญ่ ระหว่างการคลอดบุตรร่างกายจะเผชิญกับภาวะการเปลี่ยนแปลงมากมาย ทั้งฮอร์โมนและความเจ็บปวดขณะคลอด คุณแม่บางท่านอาจเสียเลือดปริมาณมาก กระบวนการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ถือว่าเป็นความเครียดของร่างกาย (physical stress) ส่งผลให้รากผมระยะเติบโต (Anagen phase) เปลี่ยนเป็นผมระยะพัก/หลุดร่วง (Telogen phase) เร็วขึ้น หลังจากนั้น 12-16 สัปดาห์เฉลี่ย 3 เดือนหลังคลอดบุตร ผมระยะพัก/หลุดร่วงที่หมดอายุขัยจำนวนมากก็จะหลุดร่วงออกมา ซึ่งผมสามารถร่วงได้ถึงวันละ 150-700 เส้น (ปกติผมร่วงวันละไม่เกิน50-100 เส้น) ทำให้ผมดูบางลงทั่วๆหนังศีรษะ ภาวะผมร่วงหลังคลอดนี้มีชื่อทางการแพทย์ว่า Postpartum telogen effluvium ผมร่วงหลังคลอดเกิดขึ้นได้นานแค่ไหนผมร่วงหลังคลอดเป็นภาวะผมร่วงชั่วคราว และเกิดได้กับคุณแม่ทุกคน เป็นเรื่องปกติตามธรรมชาติ ส่วนใหญ่จะเริ่มร่วงที่เดือนที่ 3 หลังคลอดบุตร […]
การปลูกผมแต่ละครั้งสามารถปลูกได้กี่กราฟต์
กราฟต์ผมได้มาจากส่วนไหนโดยหลักแล้วนั้นครับ พื้นที่ที่ใช้เจาะให้ได้มาซึ่งกราฟต์ผมนั้นจะต้องเป็นพื้นที่บริเวณที่มีเส้นผมที่แข็งแรงสมบูรณ์ และไม่โดนผลกระทบจากฮอร์โมน DHT ซึ่งเส้นผมเหล่านี้จะอยู่บริเวณด้านหลังของศีรษะผู้เข้ารับการปลูกผม เส้นผมบริเวณนี้เมื่อทำการย้ายมาปลูกตรงบริเวณที่มีปัญหาก็จะยังคงเป็นเส้นผมที่มีความแข็งแรง อายุยืนไม่กลายเป็นเส้นผมที่เล็กลงหรือหายไปจากหนังศีรษะง่าย ๆ ดังนั้นคนที่ต้องการปลูกผมจึงต้องมีเส้นผมบริเวณนี้ในปริมาณที่มากพอที่จะแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ หากมีไม่เพียงพอก็ไม่อาจไม่เหมาะกับการปลูกผม หรือไม่สามารถได้รับผลลัพธ์ที่เป็นที่น่าพอใจได้ ในการปลูกผม นั้นในพื้นที่ 1 ตารางเซ็นติเมตร เราจะสามารถปลูกผมได้ประมาณ 40-50 กราฟต์ตามความเหมาะสม และให้ความเป็นธรรมชาติเพื่อไม่ให้ดูหลอกตา ซึ่งเทคนิคนี้เป็นเทคนิคที่ทาง cottonwool Clinic มีความชำนาญ ไม่ว่าจะเป็นเทคนิคการปลูกแบบ DHI หรือ Long hair DHI ก็ตาม จะทำการปลูกด้วยเทคนิคไหน ก็ควรต้องมาจากการวิเคราะห์และพิจารณาของแพทย์ก่อนครับ ในการปลูกผมในแต่ละครั้ง โดยทั่วไปมักจะอยู่ที่ประมาณ 2000-3000 กราฟต์ เพราะกราฟต์ผมที่ทำการเจาะดึงออกมานั้นต้องมีการรักษาคุณภาพไว้ให้เหลือรอดให้มากที่สุด หากมีการปลูกผมจำนวนมากเกินไป ระยะเวลาที่ใช้ในการปลูกก็ต้องนานขึ้น ส่งผลให้มีกราฟต์ผมที่ต้องอยู่ภายนอกร่างกายที่นานขึ้นตามไปด้วย อัตราการรอดชีวิตของกราฟต์ก็จะลดลงได้ นอกจากนี้อาจจะมีการใช้ยาชากับคนไข้ในปริมาณที่มากขึ้น เพิ่มเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงจากยาชาได้อีกด้วยครับ โดยสรุปแล้วในการปลูกผมแต่ละครั้งจะปลูกได้กี่กราฟต์นั้น ขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัยด้วยกันครับ เช่น ต้นทุนเส้นผมของแต่ละคน จำนวนกราฟต์ที่นำมาปลูกได้ในแต่ละคน พื้นที่ปัญหาของแต่ละคน เทคนิคที่ใช้ในการปลูกรวมถึงระยะเวลาที่ต้องใช้ในการปลูก เป็นต้น เพื่อให้กราฟต์ผมมีชีวิตรอดให้มากที่สุด ที่จะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่สวยงามและเป็นธรรมชาตินั่นเองครับ
ผู้สูงอายุปลูกผม ผลลัพธ์จะเหมือนวัยรุ่นไหม?
ผู้สูงอายุปลูกผม หรือ ผู้ชายในวัยสูงอายุ ที่กำลังเผชิญกับปัญหา “ผมร่วง” สามารถมั่นใจได้ว่าอายุไม่ได้เป็นอุปสรรคในการปลูกผมแต่อย่างใด ไม่มีคำว่า “แก่เกินไป” ที่จะรักษาด้วยการปลูกผม ไม่ว่าคุณจะอายุเท่าไหร่ก็สามารถรักษาอาการผมร่วงด้วยการปลูกผมได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย อาทิ กรรมพันธุ์ ปริมาณเส้นผม และโรคประจำตัวต่างๆ ผู้ชายอายุ 50 ปีขึ้นไปอาจจะมีความคาดหวังผลลัพธ์ในการปลูกผม ให้ย้อนวัยกลับไปเหมือนตอนช่วงอายุ 20 ปี แต่ความเป็นไปได้นั้น ต้องพิจารณาตามความเหมาะสมของอาการผมร่วงและช่วงอายุ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อวางแผนการปลูกผมและต้องคำนึงถึงปัจจัยสำคัญ 3 ด้านดังนี้ ระดับความรุนแรงของศีรษะล้านและปริมาณเส้นผมที่เหลืออยู่ปริมาณเส้นผมของคนไข้ ถือเป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด อายุที่มากขึ้น ผมที่เหลืออยู่ตามธรรมชาติจะมีปริมาณน้อยกว่าช่วงวัยหนุ่ม และผู้สูงอายุมักจะมีปัญหาผมบางศีรษะล้านที่รุนแรงมากกว่า ทำให้การแก้ปัญหาด้วยการปลูกผม จะต้องคำนึงถึงปริมาณผมที่เหลือ หากปริมาณผมมีน้อย จะต้องมีการออกแบบ hair line และใช้ความหนาแน่นที่ล้อไปกับปริมาณผมที่เหลืออยู่นั่นเอง การออกแบบ Hair lineการออกแบบทรงผมในผู้สูงอายุ แพทย์จะมีการออกแบบทรงผม เน้นความธรรมชาติให้เข้ากับช่วงอายุนั้นๆ เช่น การกำหนดทรงผมที่สูงขึ้นเล็กน้อย และใช้ความหนาแน่นที่พอดี ให้เข้ากับความหนาแน่นของผมเดิมของคนไข้ เพราะอายุที่มากขึ้น ความหนาแน่นของเส้นผมก็จะเริ่มน้อยลง แต่ในบางรายที่ต้องการทรงผมที่ดูย้อนวัยมากๆ ก็สามารถทำได้หากปริมาณผมด้านหลังเพียงพอ โรคประจำตัวผู้สูงอายุมักมีโรคประจำตัวร่วมด้วย เช่น โรคความดันโลหิตสูง […]
ผมร่วงจากกรรมพันธุ์ ปลูกผมแล้วต้องกินยาไหม?
ผมร่วงจากกรรมพันธุ์ สาเหตุใหญ่ของปัญหาผมร่วงในผู้ชาย ทว่าก็ยังมีผู้หญิงบางส่วนที่ต้องพบกับปัญหานี้ โดยวิธีการรักษาที่ถือเป็นพื้นฐานในการแก้ปัญหานี้ก็คือการรับประทานยาเพื่อยับยั้งฮอร์โมนบางชนิดในร่างกายที่ทำให้เส้นผม และรากผมอ่อนแอ แต่บางคนก็ไม่อยากกินยาและอยากจบปัญหาผมร่วง ศีรษะล้านแบบไม่ต้องยืดเยื้อจึงตัดสินใจที่จะใช้วิธีอื่นอย่างเช่น การใส่วิก หรือการปลูกผมแทน โดยเฉพาะการปลูกผม ซึ่งเป็นวิธีแก้ปัญหาผมร่วง ผมบางที่ได้ผลดีเยี่ยม แต่แม้จะตัดสินใจปลูกผมแล้วก็ยังมีหลายคนที่กลัวว่าผมที่ปลูกอาจจะร่วงอีกเพราะปัญหาเรื่องกรรมพันธุ์ และสงสัยว่าแม้จะปลูกผมแล้วยังจะต้องรับประทานยาเพื่อยับยั้งฮอร์โมนที่ทำให้ผมร่วงหรือไม่ ชาวผมบางคนไหนที่ยังมีข้อสงสัยเรื่องนี้อยู่ เราไปหาคำตอบกันค่ะ การปลูกผม สามารถรักษาอาการผมร่วงจากกรรมพันธุ์ได้ เพราะการปลูกผมจะเป็นการนำเซลล์รากผมที่ไม่มีปัญหามาปลูกบริเวณผมบาง หรือเกิดเป็นหัวล้านไป ทำให้ผมที่ขึ้นมาใหม่มีสุขภาพที่แข็งแรงมากขึ้น และไม่มีปัญหาผมหลุดร่วงอีก ดังนั้นหลังจากการปลูกผมแล้วจึงไม่ต้องรับประทานยาเพื่อรักษาอาการผมร่วงจากกรรมพันธุ์อีกต่อไป เพราะแม้รับประทานเข้าไปแล้วก็ไม่ได้ช่วยให้บริเวณที่ผมเคยร่วงและปลูกผมใหม่มีผมที่ขึ้นมามากขึ้นหรือดกดำแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามในกรณีที่มีอาการผมร่วงจากกรรมพันธุ์ที่อาการค่อนข้างรุนแรง แม้จะปลูกผมแล้วแพทย์ก็ยังอาจแนะนำให้รับประทานยาอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันการหลุดร่วงของเส้นผมบริเวณอื่นๆที่อาจเกิดตามมาในภายหลัง ดังนั้นแม้จะทำการปลูกผมแล้วก็ควรปรึกษาแพทย์เรื่องการใช้ยาเพื่อให้แพทย์เป็นผู้พิจารณาจะดีที่สุดเพื่อความปลอดภัยค่ะ ได้ทราบแบบนี้แล้วใครที่รับประทานยารักษาอาการผมร่วงอยู่ และกำลังสนใจเรื่องการปลูกผมก็น่าจะพอคลายสงสัยกันได้แล้ว แต่ถ้ายังไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ที่ cottonwoolclinic เรามีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกผมที่พร้อมให้คำปรึกษาและวางแผนในการปลูกผมด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัย ที่สามารถช่วยคืนผมที่ดกดำ สุขภาพดีและเป็นธรรมชาติให้ผู้ที่มีปัญหาผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้านได้อีกครั้ง อีกทั้งยังมีการดูแลหลังการปลูกผมที่ดีเยี่ยม ช่วยให้เส้นผมที่ขึ้นใหม่มีความแข็งแรงมากขึ้น บอกลาปัญหาเดิมๆ และการรับประทานยาเพื่อรักษาอาการผมร่วง กลับมาเป็นคุณที่มั่นใจอีกครั้ง
ภาวะ shock loss คืออะไร
ภาวะ shock loss คืออะไร เกิดได้บ่อยแค่ไหน หากเกิดแล้วจะหายไหมหากคุณกำลังศึกษาเรื่องการปลูกผม คุณอาจจะเคยเห็นคำว่า shock loss ผ่านตามาบ้าง ไม่มากก็น้อยหรือบางครั้งอาจจะเรียกว่าการผลัดผม หรือการพักตัวของเส้นผม ในวันนี้เราจะมาอธิบายว่าภาวะshock loss คืออะไร เกิดได้บ่อยแค่ไหน น่ากลัวหรือไม่ ภาวะ shock loss คือภาวะผมร่วงหลังจากการปลูกผมไม่ว่าจะเป็นเทคนิค FUE หรือ FUT ก็ตาม โดยจะเกิดตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2 จนถึง 8 หลังจากการปลูกผม ซึ่งกลไกการเกิดภาวะนี้เกิดจากการที่เส้นผมแต่ละเส้นได้รับความเครียดมากกว่าภาวะปกติ โดยความเครียดนี้ อาจจะเกิดจากการบาดเจ็บของรากผมหรือบริเวณผิวหนังโดยรอบ ไม่ว่าจะจากขั้นตอนการเจาะหรือการปลูกก็ตาม นอกจากนี้ ภาวะ shock loss ยังอาจจะเกิดจากปัจจัยอื่นๆ เช่น การใช้ยาชาที่มาเกินไป หรือระยะเวลาผ่าตัดที่นานเกินไป เช่น 12 ชั่วโมงเป็นต้น ซึ่งสามารถเกิดได้ใน 5% ของประชากรที่ทำการปลูกผม โดยมักจะเกิดกับเส้นผมที่อยู่ในภาวะที่กำลังจะพักตัว โดยการบาดเจ็บของเส้นผมจะเร่งให้ผมเข้าสู่ภาวะนี้ได้ไวขึ้น เมื่อเส้นผมเข้าสู่ภาวะนี้จึงทำให้เกิดการผลัดผมออกมา การหลุดร่วงลักษณะนี้อยู่ชั่วคราว ไม่ใช่ภาวะที่จะอยู่ถาวร หากได้รับการดูแลอย่างดีและเหมาะสม รากผมจะยังมีชีวิตและมีความแข็งแรง […]
การสูบบุหรี่ก่อนและหลังปลูกผมถาวร
ขึ้นชื่อว่าเป็นบุหรี่ แค่ได้ยินก็รู้แล้วว่าไม่มีประโยชน์ หลายๆ คนคงเคยได้ยินกันมาแล้วใช่ไหมค่ะว่า การสูบบุหรี่ 1 มวนทำให้อายุสั้นลง 7 นาที ก่อนอื่นเรามาดูโทษของบุหรี่กันก่อนดีกว่าค่ะ การบุหรี่เราจะได้รับสารเคมีต่างๆ เช่น นิโคติน ก๊าซ คาร์บอนมอนอกไซด์ และสารอื่นๆ อีกมากมายที่เป็นโทษ เมื่อคนเราสูบบุหรี่เข้าไปในร่างกายแล้วก็แทบจะทำลายทุกส่วนของร่างกาย เริ่มตั้งแต่หลอดเลือดสมอง หัวใจ ปอด และระบบอื่นๆ ภายในร่างกายอีกด้วย เมื่อคนที่ติดบุหรี่อยากจะมาปลูกผมถาวร คำถามเหล่านี้ก็จะตามมาว่า หลังปลูกผม FUE ไปแล้วนานแค่ไหนถึงจะสูบบุหรี่ได้ แพทย์จะแนะนำให้คนไข้งดบุหรี่หลังปลูกผม 14 วัน เพราะการสูบบุหรี่หนักๆ จะทำให้บาดแผลหลังการผ่าตัดหายช้าลง รวมถึงเส้นผมที่กำลังจะขึ้นใหม่อาจถูกทำลายไปโดยไม่รู้ตัว เพราะว่าช่วงเวลา 14 วันนี้เป็นช่วงที่แผลหลังการผ่าตัดกำลังรักษาตัวเองให้หายเป็นปกติอยู่นั่นเองค่ะ แต่อีกหนึ่งเรื่องที่ขาดไม่ได้และต้องแจ้งให้คนไข้ทราบ สำหรับผู้ที่ติดบุหรี่ก่อนทำการปลูกผมถาวร คือ คนไข้ควรงดบุหรี่ก่อนมาทำศัลยกรรมปลูกผมอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์ เพื่อเป็นการช่วยให้พิษจากบุหรี่ลดลงก่อนทำการปลูกผม ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะส่งผลต่อผลลัพธ์การปลูกผมค่ะ ดังนั้นผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดปลูกผมทุกคนไม่ควรจะละเลยและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ อาจจะฟังดูยุ่งยากแต่สิ่งที่แพทย์แนะนำนั้นส่งผลดีโดยตรงต่อผลลัพธ์หลังปลูกผมถาวรของคนไข้ทุกคนนะคะ
อาการชาแปล๊บ ๆ หลังปลูกผมเกิดจากอะไร
ปลูกผมถาวรเป็นอีกหนึ่งทางออกสำหรับหนุ่มๆ สาวๆ ที่ต้องเจอกับปัญหาผมบาง ศีรษะล้านก่อนวัย หัวล้านจากกรรมพันธุ์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ จนทำให้ใครหลายคนตัดสินใจแก้ไขปัญหาเหล่านี้โดยการที่จะเลือกปรึกษาคลินิกปลูกผมชั้นนำต่างๆ ที่มีอยู่ในประเทศไทยจนทำให้เกิดราคาปลูกผมถาวรหลากหลายตั้งแต่ระดับหลักหมื่นถึงหลักแสน และเกิดคำถามต่อท้ายขึ้นมาว่าถ้าตัดสินใจปลูกผมถาวรไปแล้วจะมีอาการอะไรเกิดขึ้นตามมาหลังปลูกผมบ้างไหมนะ วันนี้เราจึงจะมาเจาะลึกหนึ่งในอาการที่เกิดขึ้นได้หลังปลูกผม “อาการชาหลังปลูกผมเกิดจากอะไร” การผ่าตัดปลูกผมถาวร เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าจะต้องมีการลงเข็มและมีการฉีดยาชาลงไปบริเวณหนังศีรษะจำนวนมาก รวมไปถึงการเจาะนำกราฟท์ (รากผม) ออกมาเป็นจำนวนมากเช่นกัน ตอนที่ฉีดยาชานั้นยาชาจะออกฤทธิ์อยู่แค่ไม่กี่ชั่วโมง แล้วจะหมดฤทธิ์ไปแต่ในบางกรณีจะมีคนไข้บ้างคนแจ้งว่าผ่านไปหลายวันหรือหลายสัปดาห์แล้วแต่ก็ยังรู้สึกชาอยู่ ส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณกลางกะหม่อม อันนี้ไม่ใช่อาการชาจากฤทธิ์ยาชาโดยตรงแล้ว แต่เป็นอาการชาเนื่องจากการทำงานของเส้นประสาทที่เปลี่ยนแปลงไปจากปกติชั่วคราว ทั้งนี้โดยทั่วไปอาการชาดังกล่าวสามารถกลับมาเป็นปกติได้ในเวลา 3-6 เดือน นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกค้าบางรายตกใจเมื่อเจอกับอาการชาเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นการปลูกแบบ FUE หรือ การปลูกผมแบบ FUT ก็แล้วแต่ อาการชาสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งสิ้น จะเป็นมากหรือน้อยหรือไม่เป็นเลยก็แล้วแต่ตัวบุคคล **ขอย้ำว่าไม่ต้องตกใจกันไปนะคะ มันคือเรื่องปกติแต่ถ้าหลังปลูกผมไปแล้วเป็นเวลานานเกิน 1-2 ปี อาการชาหรือเสียวยังไม่หายสักที ขอแนะนำให้เข้าพบคลินิกปลูกผมที่ทำการปลูกผมให้โดยเร็วเพื่อรับการรักษาอาการชาเหล่านี้
อยากปลูกผมรอบสองต้องรอกี่เดือน
ศัลยกรรมปลูกผมถาวรถือว่าเป็น ศัลยกรรมอันดับต้นๆ ที่ทั้งเหล่าคุณผู้หญิงและคุณผู้ชายให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก “ปลูกผมถาวร” สมัยนี้ คนที่เข้ามารับบริการจะไม่ใช่แค่กลุ่มคนที่มีปัญหาหัวล้านเพียงอย่างเดียวเหมือนสมัยก่อน แต่ยังมีคนที่ต้องการปลูกผมเพื่อปรับกรอบหน้า หรือปลูกผมปรับโหงวเฮ้งอีกด้วย จนทำให้มีความต้องการในตลาดเพิ่มมากขึ้น และอาจทำให้ได้รับข้อมูลเรื่องการปลูกผมที่ผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนได้ จริงๆ แล้วการปลูกผมถาวรนั้นมีข้อจำกัดหลายอย่าง และบางครั้งอาจทำให้ลูกค้าต้องกลับมาปลูกผมมากกว่าหนึ่งครั้งได้ สำหรับคนที่มีปัญหาหัวล้านมากๆ หรือโชคร้ายปลูกผมมาแล้วผมขึ้นไม่ดี สถานการณ์ก็จะบังคับให้ลูกค้าได้กลับมาปลูกผมมากกว่าหนึ่งรอบนั่นเอง การปลูกผมรอบที่สองขึ้นไป จะมีสองกรณีหลักๆ คือ1. ปลูกผมบริเวณเดิมที่เคยปลูกมาแล้ว กรณีนี้จะเกิดขึ้นเมื่อมีการปลูกผมที่ผิดพลาดและต้องการแก้ไขในบริเวณเดิม เช่น ปลูกผมแล้วผมขึ้นไม่ดี หรือ ผมขึ้นผิดทิศทาง ลูกค้าต้องรอให้ผมที่เพิ่งปลูกไปขึ้นเต็มที่ก่อนอย่างน้อย 9-12 เดือน ถึงจะสามารถปลูกผมถาวรใหม่ได้อีกครั้งในบริเวณเดิม 2. กรณีลูกค้าหัวล้านเป็นบริเวณกว้างจนต้องปลูกผมมากกว่า 1 รอบคนที่อยู่ในกลุ่มนี้จะเป็นคนที่มีปัญหาด้านเส้นผมและหนังศีรษะแบบชัดเจนหรือเรียกง่ายๆ ว่า “หัวล้าน” ไม่ว่าจะเป็นการล้านแบบกรรมพันธุ์หรือล้านจากโรคทางผิวหนัง สำหรับคนที่หัวล้านจากกรรมพันธุ์จนต้องปลูกผมถาวรมากกว่าหนึ่งรอบ คือ ลักษณะการล้านจะมากกว่าหนึ่งพื้นที่ (ด้านหน้า ตรงกลาง และ/หรือบริเวณกระหม่อม) ในกรณีนี้คุณหมอจะแนะนำให้ปลูกพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งที่ลูกค้ากังวลที่สุดก่อน แล้วให้ลูกค้ารอ 3-6 เดือน เพื่อรอให้แผลจากการผ่าตัดปลูกผมครั้งที่แล้วหายดีก่อนถึงจะกลับมาปลูกรอบต่อไปในพื้นที่ใหม่ได้
โรคดึงผม
มีชื่อทางการแพทย์ว่า Trichotillomania เป็นภาวะภาวะทางจิตที่สัมพันธ์กับความเครียด ทำให้คนไข้ดึงผมออกจากหนังศีรษะ คิ้ว หรือส่วนอื่นๆ ของร่างกาย การดึงผมออกจากหนังศีรษะมักทำให้เกิดจุดหัวล้านเป็นหย่อมๆ โดยส่วนใหญ่คนไข้มักไม่ยอมรับว่าดึงผมตัวเอง ทำให้เกิดปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน ผู้ที่เป็นโรคดึงผม(Trichotillomania) ต้องใช้ความพยายามอย่างมากเพื่อปกปิดการผมที่ร่วงจากการดึง ทำให้เกิดความวิตกกังวลและอับอาย ไม่มั่นใจในการใช้ชีวิต ตำแหน่งที่พบการดึง มักดึงตรงกลางกระหม่อม ผมร่วงเป็นหย่อม รูปร่างไม่แน่นอน ผิดธรรมชาติ เช่น ขอบตรง, บริเวณที่ร่วงผมจะขึ้นสั้นยาว ไม่เท่ากัน มีผมขึ้นใหม่เส้นสั้นๆอยู่กลางวง พบรอยแกะเกา สะเก็ดที่หนังศีรษะ และหากดึงบ่อยๆไม่หยุด ผมบริเวณดังกล่าวจะร่วงถาวร (scarring alopecia) อาการและการแสดงออกของโรคดึงผม1.การดึงผมออกซ้ำๆ โดยทั่วไปแล้วจะมาจากหนังศีรษะ คิ้ว หรือขนตา แต่บางครั้งอาจมาจากส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ซึ่งบริเวณที่ดึงอาจแตกต่างกันไปตามช่วงเวลา2.ความเครียดที่เกิดจากการอยากหยุดพฤติกรรมดึงผม แต่ไม่สามารถหยุดดึงได้3.ความรู้สึกโล่งหรือมีความสุขหลังจากดึงผมเสร็จแล้ว4.ผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน รวมถึงขนตาหรือคิ้วบางลงอย่างเห็นได้ชัด5.พยายามหยุดดึงผมซ้ำๆ แต่ไม่สำเร็จ6.การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนของผู้หญิงที่เป็นโรคดึงผมในช่วงมีประจำเดือน อาจส่งผลให้มีอาการแย่ลงได้ เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์ หากใครที่มีปัญหาดึงผมโดยที่ไม่สามารถหยุดพฤติกรรมการดึงผมได้ หรือรู้สึกขาดความมั่นใจเกี่ยวกับรูปลักษณ์ หน้าตา ที่มีผลมาจากพฤติกรรมการดึงผม ควรปรึกษาจิตแพทย์เพื่อรับการรักษา เนื่องจากโรคดึงผม ไม่ได้เกิดขึ้นจากพฤติกรรมเพียงท่านั้น แต่ยังป็นโรคที่มีผลมาจากภาวะทางจิต ซึ่งอาการจะไม่ดีขึ้นหากไม่ได้เข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง หลังจากนั้นเข้ามาประเมินเพื่อรับการปลูกผม เพื่อเพิ่มความมั่นใจระยะยาวได้ครับ